บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ต้นสาคู
ชื่ออื่นของสาคู: สากู (มลายู-ใต้)
สาคูเป็นพืชที่มีอายุอยู่ได้หลายฤดูฝน ลักษณะใบคล้ายใบคล้า ต้นคล้ายต้นขิง ต้นสูง ๖๐-๑๘๐ ซม. ขึ้นอยู่เป็นกอ หัวเล็กยาว แผ่กว้างลึก อีกชนิดหนึ่งต้นและใบคล้ายพุทธรักษา หัวสั้นใหญ่ มีหัวน้อยอยู่ไม่ลึก
สาคูเป็นพืชที่มีอายุอยู่ได้หลายฤดูฝน ลักษณะใบคล้ายใบคล้า ต้นคล้ายต้นขิง ต้นสูง ๖๐-๑๘๐ ซม. ขึ้นอยู่เป็นกอ หัวเล็กยาว แผ่กว้างลึก อีกชนิดหนึ่งต้นและใบคล้ายพุทธรักษา หัวสั้นใหญ่ มีหัวน้อยอยู่ไม่ลึก
ประโยชน์ของสาคู
แป้งสาคู นับเป็นคาร์โบไฮเดรตที่บริสุทธิ์ที่สุดในบรรดาคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากธรรมชาติและมีความเหนียวสูงสุด การวิเคราะห์หัวสาคู ประเภท “เครโอล” ประกอบด้วยความชื้นร้อยละ ๖๙.๑ เถ้าร้อยละ ๑.๔ ไขมันร้อยละ ๐.๑ เส้นใยร้อยละ ๑.๓ โปรตีนร้อยละแป้งร้อยละ ๒๑.๗สำหรับหัวสาคูประเภท “แบนานา” ประกอบด้วยความชื้นร้อยละ ๗๒.๐ เถ้าร้อยละ ๑.๓ ไขมันร้อยละ ๐.๑ เส้นใยร้อยละ ๐.๖ โปรตีนร้อยละ ๒.๒ แป้งร้อยละ ๑๙.๔ แป้งสาคูประกอบด้วยเม็ดยาวรี ยาวประมาณ ๑๕-๗๐ ไมครอน พวก แบนานา มีเม็ดแป้งใหญ่กว่าพวกเครโอล เล็กน้อย ส่วนใหญ่ใช้หัวทำแป้ง ซึ่งเป็นแป้งที่ย่อยง่ายมาก ส่งออกสู่ตลาดเป็นแป้งผล สีขาว เรียก “แป้งสาคู” นิยมใช้เป็นอาหารทารก และทำอาหารอย่างอื่น เช่น ขนมปัง ขนมต่าง ๆ แพทย์ให้คนป่วยด้วยโรคลำไส้รับประทาน แป้งสาคู นอกจากนี้เราใช้แป้งสาคูทำ “ผงแบเรียม” (barium meals) และใช้ในอุตสาหกรรมยา ทำแป้งผัดหน้า ทำกาวและทำ กระดาษ ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ หัวสาคูใช้เป็นอาหาร โดยต้มหรือเผาเสียก่อน หัวสดนำมาโม่จะได้แป้งสาคูใช้ทำขนมได้ดี ใบและต้น สาคูใช้ในการบรรจุหีบห่อได้ กากที่เหลือจากการทำแป้งแล้วใช้เป็นอาหารสัตว์และทำปุ๋ย คนไทยต้มหรือนึ่งสาคูรับประทาน เป็นของ หวาน แต่ปริมาณสาคูที่ใช้เป็นของหวานมีไม่มากนัก
วิธีปลูกสาคู
โดยทั่วไปสาคู ปลูก จากหัว โดยตัดเป็นท่อนสั้นๆ ยาวประมาณ ๕ ซม. บางทีก็รมควันหัวเสียก่อนเพื่อให้งอกเร็วขึ้น บางครั้งก็ปลูกด้วยหน่อ (sucker) บางรายขุดเก็บหัวสาคูจากต้นแก่เท่านั้น ทิ้งต้นอ่อนที่เกิดจากหน่อให้เติบโตต่อไป ไม่ต้องปลูกใหม่ เริ่มปลูกเมื่อต้นฤดูฝน วางหัวที่เตรียมไว้ในหลุม ความลึกของหลุมประมาณ ๑๐-๑๕ ซม. กลบด้วยดิน ถ้าใช้ระยะปลูก ๗๕-๘๐ ซม. หัวที่ใช้เป็นพันธุ์ปลูก จะต้องมีจำนวนหนักประมาณ ๔๘๐-๕๖๐ กก./ไร่
โดยทั่วไปสาคู ปลูก จากหัว โดยตัดเป็นท่อนสั้นๆ ยาวประมาณ ๕ ซม. บางทีก็รมควันหัวเสียก่อนเพื่อให้งอกเร็วขึ้น บางครั้งก็ปลูกด้วยหน่อ (sucker) บางรายขุดเก็บหัวสาคูจากต้นแก่เท่านั้น ทิ้งต้นอ่อนที่เกิดจากหน่อให้เติบโตต่อไป ไม่ต้องปลูกใหม่ เริ่มปลูกเมื่อต้นฤดูฝน วางหัวที่เตรียมไว้ในหลุม ความลึกของหลุมประมาณ ๑๐-๑๕ ซม. กลบด้วยดิน ถ้าใช้ระยะปลูก ๗๕-๘๐ ซม. หัวที่ใช้เป็นพันธุ์ปลูก จะต้องมีจำนวนหนักประมาณ ๔๘๐-๕๖๐ กก./ไร่
การกำจัดวัชพืช
หลังจากปลูกสาคูแล้ว ควรดูแลอย่างให้มีวัชพืชแย่งอาหารต้นสาคู โดยกำจัดวัชพืชเมื่อต้นสาคูอายุ ๓-๔ เดือน เมื่อต้นสาคูออกดอกต้องคอยเด็ดทิ้งทันที เพื่อให้อาหารไปเลี้ยงหัวให้โตขึ้นแทนที่จะไปเลี้ยงดอกและเมล็ด
หลังจากปลูกสาคูแล้ว ควรดูแลอย่างให้มีวัชพืชแย่งอาหารต้นสาคู โดยกำจัดวัชพืชเมื่อต้นสาคูอายุ ๓-๔ เดือน เมื่อต้นสาคูออกดอกต้องคอยเด็ดทิ้งทันที เพื่อให้อาหารไปเลี้ยงหัวให้โตขึ้นแทนที่จะไปเลี้ยงดอกและเมล็ด
การใส่ปุ๋ยสาคู
การปลูกสาคูใน ต่างประเทศ ใช้ปุ๋ยผสมเกรด ๘-๕-๑๔ ในอัตราประมาณ ๑๔๐ กก./ไร่ เมื่ออายุประมาณ ๓ เดือนครึ่ง คนไทยปลูกสาคูโดยไม่ใส่ปุ๋ยเคมี อาจจะใส่ปุ๋ยคอกบ้างเล็กน้อย
การปลูกสาคูใน ต่างประเทศ ใช้ปุ๋ยผสมเกรด ๘-๕-๑๔ ในอัตราประมาณ ๑๔๐ กก./ไร่ เมื่ออายุประมาณ ๓ เดือนครึ่ง คนไทยปลูกสาคูโดยไม่ใส่ปุ๋ยเคมี อาจจะใส่ปุ๋ยคอกบ้างเล็กน้อย
โรคและแมลง
ต้นสาคู ไม่มีโรคและแมลงรบกวนมากนักแมลงที่อาจพบ ได้แก่ หนอนม้วนใบ โรคที่พบมีโรคใบจุด ไม่ทำความเสียหายร้ายแรงนัก
ต้นสาคู ไม่มีโรคและแมลงรบกวนมากนักแมลงที่อาจพบ ได้แก่ หนอนม้วนใบ โรคที่พบมีโรคใบจุด ไม่ทำความเสียหายร้ายแรงนัก
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
สาคู มี อายุประมาณ ๑๐-๑๑ เดือน สังเกตได้โดยใบเริ่มเหี่ยวตาย จึงเก็บโดยขุดและเก็บด้วยมือ ตัดแยกหัวออกจากต้นและใบ ผลผลิตของหัวสาคูมีประมาณ ๒,๐๐๐ กก./ไร่ เมื่อขุดขึ้นจากดินแล้ว จะเก็บหัวไว้ได้ไม่นาน จะต้องใช้ภายใน ๒-๗ วัน
สาคู มี อายุประมาณ ๑๐-๑๑ เดือน สังเกตได้โดยใบเริ่มเหี่ยวตาย จึงเก็บโดยขุดและเก็บด้วยมือ ตัดแยกหัวออกจากต้นและใบ ผลผลิตของหัวสาคูมีประมาณ ๒,๐๐๐ กก./ไร่ เมื่อขุดขึ้นจากดินแล้ว จะเก็บหัวไว้ได้ไม่นาน จะต้องใช้ภายใน ๒-๗ วัน
ฤดูปลูกสาคู
สาคู ขึ้น ได้ในที่ที่มีฝน ๑,๕๐๐-๒,๐๐๐ มม. จึงควรปลูกในเวลาที่มีน้ำหรือสามารถให้น้ำได้เพียงพอตลอดอายุการเจริญเติบโต สาคูชอบอากาศร้อนและชื้น ฤดูปลูกที่เหมาะสม ได้แก่ ฤดูฝน การปลูกและการเตรียมพื้นที่ สาคูชอบที่ที่มีการระบายน้ำดี ดินเป็นกรดน้อยๆ ร่วนและลึก สามารถขึ้นได้ดีตั้งแต่ระดับน้ำทะเล จนถึงความสูงประมาณ ๙๐๐ เมตร เตรียมดินโดยไถและพรวนดิน ให้ร่วนขุดหลุมลึก ๑๐-๑๕ ซม. ระยะหลุมห่างกัน ๓๕-๔๐ ซม. ปลูกเป็นแถวระยะระหว่างแถวประมาณ ๗๕ ซม.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น